วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

10 อันดับ ดอกไม้ที่สวยที่สุดในโลก อันดับ9 ดอกผกากรองหรือLantana


อันดับที่ 9
ดอกผกากรองหรือLantana
     ดอกไม้เหล่านี้ละเอียดอ่อนที่มีกลีบดอกสีชมพูและสีเหลืองของพวกเขาจะแม่เหล็กผีเสื้อ พุ่มไม้ที่สามารถเติบโตได้มีขนาดใหญ่มากและสีของการเปลี่ยนแปลงกลีบเป็นพืชอายุ ระวัง -- Lantana ถือว่าเป็นวัชพืชโดยมากมายที่ค่อนข้างยากที่จะกำจัด














ชื่อพื้นเมือง : ผกากรองต้น ขะจาย ตาปู ขี้กา คำขี้ไก่ สาบแร้งชื่อสามัญ : Cloth of Gold, Hedge Flowerชื่อวิทยาศาสตร์ : Lantana camara, Linnชื่อวงศ์ : VERBENACEAEการขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตัดกิ่งปักชำลักษณะ : ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาโดยรอบ ลำต้นมีขนปกคลุม จับดูจะระคายมือใบ รูปไข่ขอบจะจัก ปลายใบแหลม พื้นใบมีสีเขียวเข้ม ผิวของใบจะสากระคายมือ ใบออกเป็นคู่ดอก สีเหลือง แดง ชมพู ขาว ม่วง ดอกเล็กออกเป็นกระจุก อาจมีหลายสีหรือสีเดียว ผล - เมล็ด




10 อันดับ ดอกไม้ที่สวยที่สุดในโลก อันดับ10 ดอกกุหลาบ


อันดับที่ 10
ดอกกุหลาบ
     ดอกกุหลาบเป็นหนึ่งในที่สุดโรแมนติกและมหัศจรรย์หอมของดอกไม้ ของดอกกุหลาบให้แพร่หลายในประเพณีและความหมายทางวัฒนธรรมจากสีเหลืองเพิ่มขึ้นของมิตรภาพเพื่อแดงเข้มเพิ่มขึ้นของความรักที่แท้จริง





ดอกกุหลาบ


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          เคยได้ยินคำเปรียบเปรยไหมที่ว่า ผู้หญิงสวยแต่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมก็เปรียบได้ดัง "ดอกกุหลาบ" เพราะดอกกุหลาบนั้น แม้จะมีรูปร่างภายนอกที่สวยงามร วมถึงกลิ่นที่หอมชวนดม แต่มันก็มีหนามแหลม หากไม่ระวังอาจโดนบาดได้ง่าย ๆ

          กุหลาบนั้นมีชื่อสามัญว่า "Rose" ชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า "Rosa hybrids" และมีชื่อวงศ์ว่า "Rosaceae" ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ลักษณะของกุหลาบนั้นมีทั้งไม้พุ่มและไม้เลื้อย ลำต้นและกิ่งจะมีหนาม ส่วนดอกของกุหลาบจะมีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกมีลักษณะใหญ่ มีไม่ต่ำกว่า 5 กลีบ กุหลาบนั้นมีกลิ่นหอมชวนดม และมีหลายสี เช่น แดง ขาว เหลือง ชมพู ฯลฯ อีกทั้งยังมีหลายชนิดด้วย

          ซึ่งคำว่ากุหลาบนั้นมาจากคำว่า "คุล" ที่ในภาษาเปอร์เซียแปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" โดยในภาษาฮินดีก็มีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" ก็หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ" ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า"Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก


ดอกกุหลาบ

ดอกกุหลาบ

          โดยกุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกมาแต่โบราณ ว่ากันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อ 70 ล้านปีมาแล้ว และเคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยแต่ก่อนกุหลาบนั้นเป็นกุหลาบป่าและมีรูปร่างไม่เหมือนในทุกวันนี้ แต่เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์จนขยายเป็นพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย

          ตามประวัติศาสตร์เล่าว่ากุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรดิ์ ในสมัยราชวงศ์ฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอกส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน เพราะชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมาก แม้ว่าจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้วก็ตาม แต่ก็ยังลงทุนสร้างสถานที่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย เพราะสำหรับชาวโรมันแล้วดอกกุหลาบนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน อีกทั้งชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก เป็นทั้งของขวัญ และเป็นดอกไม้สำหรับทำมาลัยต้อนรับแขก รวมถึงเป็นดอกไม้สำหรับงานฉลองต่าง ๆ แถมยังเป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ และยาได้อีกด้วย

          และเมื่อเอ่ยถึงดอกกุหลาบแล้ว หลาย ๆ คนก็คงจะนึกถึงเรื่องความรัก เพราะกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ของความรักและความโรแมนติก โดยมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงามและความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม 

          แม้จะไม่มีการบันทึกอย่างชัดเจนว่าดอกกุหลาบนั้นเข้ามาเกี่ยวข้องกับบ้านเราตอนไหน แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ว่าเห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ก็ได้มีการกล่าวถึงกุหลาบเอาไว้ และยังมีตำนานดอกกุหลาบของไทยที่เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มาก แต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาปให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา

          โดยดอกกุหลาบนั้นสามารถสื่อความหมายได้หลายอย่าง อาทิ
ดอกกุหลาบ 

 สีกุหลาบสื่อความหมาย

           สีแดง สื่อความหมายถึง ความรักและความปราถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ

           สีชมพู สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์

           สีขาว สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง

           สีเหลือง สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ

           สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

           สีส้ม สื่อความหมายถึง ฉันรักเธอเหมือนเดิม

ดอกกุหลาบ
จำนวนกุหลาบสื่อความหมาย

          1 ดอก รักแรกพบ
          2 ดอก แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน
          3 ดอก ฉันรักเธอ
          7 ดอก คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์
          9 ดอก เราสองคนจะรักกันตลอดไป
          10 ดอก คุณเป็นคนที่ดีเลิศ
          11 ดอก คุณเป็นสมบัติชิ้นที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
          12 ดอก ขอให้เธอเป็นคู่ของฉันเพียงคนเดียว
          13 ดอก เพื่อนแท้เสมอ
          15 ดอก ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
          20 ดอก ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
          21 ดอก ชีวิตินี้ฉันมอบเพื่อเธอ
          36 ดอก ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
          40 ดอก ความรักของฉันเป็นรักแท้
          99 ดอก ฉันรักเธอจนวันตาย
          100 ดอก ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
          101 ดอก ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
          108 ดอก คุณจะแต่งงานกับฉันไหม
          999 ดอก ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย
 ดอกกุหลาบ

ความหมายอื่น

            กุหลาบแดงเข้ม (สีเหมือนไวน์แดง) "เธอช่างมีเสน่ห์งามเหลือเกิน"

            กุหลาบตูมสีแดง "ฉันเริ่มรักเธอแล้วจ้ะ"

            กุหลาบบานสีแดง "ฉันรักเธอเข้าแล้ว"

            กุหลาบสีแดงที่โรยแล้ว "ความรักของเรานั้นจบลงแล้ว"

            กุหลาบตูมสีขาว "เธอช่างไร้เดียงสาน่าทะนุถนอมเหลือเกิน ฉันรักเธอ"

            กุหลาบสีขาวที่โรยแล้ว "เสน่ห์ของเธอมันเริ่มลดน้อยถอยลงแล้วนะจ๊ะ"

           กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย

          และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวที่น่าสนใจของดอกกุหลาบ 

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรู้ทางวันสำคัญ วันลอยกระทง


ประวัติวันลอยกระทง
              เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่(เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา"มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง

              ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย


ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

              ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)


จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"


จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง


ภาคอีสานจะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"


กรุงเทพฯ จะมี งานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว7-10วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง


ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา



ประวัติ
              เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3


ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย
              ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง
# เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
# เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
# เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
# ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้ 


ด.ช. หิรัญ สกุลศรีขจร ม2/10 เลขที่ 22

ความรู้ทางวันสำคัญ 25 ธันวา chrismas day


คริสต์มาสคืออะไร




ความสำคัญของวันคริสต์มาส


คริสต์มาส เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่ง ในศาสนาคริสต์ มิใช่เป็นวันสำคัญฝ่ายร่างกาย จัดงานรื่นเริงภายนอกเท่านั้น ซึ่งเป็นแต่เพียงเปลือกนอก ของการฉลองคริสต์มาส แต่แก่นแท้อยู่ที่ความรักของพระเจ้าที่ มีต่อโลกมนุษย์ นั่นคือ พระเจ้าทรงรักมนุษย์มากจน ถึงกับยอมส่งพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์ ให้มาเกิดเป็นมนุษย์ มีเนื้อหนังมังสา ชื่อว่า “เยซู” การที่พระเจ้าได้ถ่อมองค์และเกียรติ ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น จากการเป็นทาสของความชั่ว และบาปต่างๆ นั่นเอง ดังนั้น ความสำคัญของวันคริสต์มาส จึงอยู่ที่การฉลองความรัก ที่พระเจ้ามีต่อโลกมนุษย์ อย่างเป็นจริงเป็นจัง และเห็นตัวตนในพระเยซูคริสต์ ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น

บรรยากาศคริสต์มาสในเมืองไทย มักจะเริ่มด้วยห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ จะตกแต่งห้างด้วยสีสันต่างๆ รวมทั้งต้นคริสต์มาส อันเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสต์มาส กันอย่างหรูหรา สิ่งเหล่านี้ เป็นบรรยากาศที่ ชักจูงให้เราคิดถึง วันสำคัญของชาวโลกวันหนึ่ง ก็คือ “วันคริสต์มาส” ซึ่งกำลังใกล้เข้ามาทุกนาทีนั่นเอง

วันคริสต์มาส คือ การฉลองวันประสูติของพระเยซู ผู้เป็นศาสดาสูงสุดของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นวันฉลองที่มีความสำคัญ และมีความหมายมากที่สุดวันหนึ่ง เพราะชาวคริสต์ถือว่า พระเยซู มิใช่เป็นแต่เพียงมนุษย์ธรรดาๆ ที่มาเกิดเหมือนเด็กทั่วไป แต่พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด และมีพระธรรมชาติเป็นพระเจ้า และเป็นมนุษย์ในพระองค์เอง การบังเกิดของพระองค์ จึงเป็นเหตุการณ์พิเศษ ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนด้วย ….

ประวัติการประสูติพระเยซูเจ้า

ในเวลานั้น จักรพรรดิออกัสตัส รับสั่งให้ราษฎรทุกคนในอาณาจักรโรมัน ไปลงทะเบียนสำมะโนประชากร โยเซฟและมารีย์ ซึ่งมีครรภ์แก่ จึงต้องเดินทางไปยังเมืองเบธเลเฮม อันเป็นเมืองที่กษัตริย์ดาวิดประสูติ พอดีถึงกำหนดที่มารีย์จะคลอดบุตร เธอก็ได้คลอดบุตรชายหัวปี เธอเอาผ้าพันกายพระกุมารแล้ววางไว้ในรางหญ้า เนื่องจากตามโรงแรมไม่มีที่พักเลย


คืนนั้น ทูตสวรรค์ของพระเจ้า ปรากฎแก่พวกเลี้ยงแกะ พวกเขาตกใจกลัวมาก แต่ทูตสวรรค์ปลอบพวกเขาว่า “อย่ากลัวไปเลย เพราะเรานำข่าวดีมาบอก คืนนี้เอง ในเมืองของกษัตริย์ดาวิด มีพระผู้ช่วยให้รอดประสูติ พระองค์นั้นเป็นพระคริสต์พระเป็นเจ้า นี่จะเป็นหลักฐานให้พวกท่านแน่ใจคือ พวกท่านจะพบพระกุมาร มีผ้าพันกายนอนอยู่ในรางหญ้า” ทันใดนั้น มีทูตสวรรค์อีกมากมาย ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าว่า

ขอเทิดพระเกียรติพระเจ้า ผู้สถิตย์ในสวรรค์ชั้นสูงสุด
สันติสุขบนพิภพ จงเป็นของผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย 


ทำไมจึงวันฉลองคริสต์มาสวันที่ 25 ธันวาคม



ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ (ลก.2:1-3) บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าบังเกิดในสมัยที่ จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส ให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยมีคีรินิอัส เป็นเจ้าครองเมืองซีเรีย ซึ่งในพระคัมภีร์ ไม่ได้บอกว่า เป็นวันหรือเดือนอะไร แต่นักประวัติศาสตร์ให้เหตุผลว่า ทื่คริสตชนเลือกเอาวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองคริสต์มาส ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา เนื่องจาก ในปี ค.ศ. 274 จักรพรรดิเอาเรเลียน ได้กำหนดให้วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพผู้ทรงพลัง ชาวโรมันฉลองวันนี้อย่างสง่า และถือเสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะพระจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ คริสตชนที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รู้สึกอึดอัดใจ ที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ ตามประเพณีของชาวโรมัน จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 330 จึงเริ่มมีการฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการ และอย่างเปิดเผย เนื่องจากก่อนนั้น มีการเบียดเบียนศาสนาอย่างรุนแรง (ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 64-313) ทำให้คริสตชน ไม่มีโอกาสฉลองอะไรอย่างเปิดเผย



The History of Christmas

In the Western world, the birthday of Jesus Christ has been celebrated on December 25th since AD 354, replacing an earlier date of January 6th. The Christians had by then appropriated many pagan festivals and traditions of the season, that were practiced in many parts of the Middle East and Europe, as a means of stamping them out.

There were mid-winter festivals in ancient Babylon and Egypt, and Germanic fertility festivals also took place at this time. The birth of the ancient sun-god Attis in Phrygia was celebrated on December 25th, as was the birth of the Persian sun-god, Mithras. The Romans celebrated Saturnalia, a festival dedicated to Saturn, the god of peace and plenty, that ran from the 17th to 24th of December. Public gathering places were decorated with flowers, gifts and candles were exchanged and the population, slaves and masters alike, celebrated the occasion with great enthusiasm.

In Scandinavia, a period of festivities known as Yule contributed another impetus to celebration, as opposed to spirituality. As Winter ended the growing season, the opportunity of enjoying the Summer's bounty encouraged much feasting and merriment.

The Celtic culture of the British Isles revered all green plants, but particularly mistletoe and holly. These were important symbols of fertility and were used for decorating their homes and altars.

New Christmas customs appeared in the Middle Ages. The most prominent contribution was the carol, which by the 14th century had become associated with the religious observance of the birth of Christ.

In Italy, a tradition developed for re-enacting the birth of Christ and the construction of scenes of the nativity. This is said to have been introduced by Saint Francis as part of his efforts to bring spiritual knowledge to the laity.

Saints Days have also contributed to our Christmas celebrations. A prominent figure in today's Christmas is Saint Nicholas who for centuries has been honored on December 6th. He was one of the forerunners of Santa Claus.

Another popular ritual was the burning of the Yule Log, which is strongly embedded in the pagan worship of vegetation and fire, as well as being associated with magical and spiritual powers.

Celebrating Christmas has been controversial since its inception. Since numerous festivities found their roots in pagan practices, they were greatly frowned upon by conservatives within the Church. The feasting, gift-giving and frequent excesses presented a drastic contrast with the simplicity of the Nativity, and many people throughout the centuries and into the present, condemn such practices as being contrary to the true spirit of Christmas.


ความรู้ทาง วันสำคัญ 14 กุมภา วันแห่งความรัก


วันวาเลนไทน์ Valentine’s Day 
 

วันวาเลนไทน์ Valentine’s Day  ดอกกุหลาบกลายเป็นสัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์

วันแห่งความรัก Valentine’s Day


      ในปัจจุบันวัยรุ่นมีค่านิยมเรื่องวันแห่งความรักตามสมัยนิยม  อย่างเช่นวันวาเลนไทน์ ซึ่งตามประวัติแล้วเขาต้องการให้รักเพื่อนมนุษย์ แต่คนรุ่นใหม่ตีความหมายพลาดไป แล้วสร้างค่านิยมใหม่เรื่องความรัก และการมีความสัมพันธ์กัน โดยที่ยังไม่ตกลงนับถือกันเป็นคู่ชีวิต หรือทำเพื่อความสนุกสนาน ถือว่าเป็นค่านิยมที่ผิดทีเดียว เพราะความรักเป็นของสูงส่ง มิใช่ของสำส่อนเหมือนดังที่สัตว์บางประเภทประพฤติอยู่เป็นปกติ

       ในการแก้ไขนั้นเราต้องเลิกค่านิยมนี้ และชักชวนกันศึกษาธรรมะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ถึงโทษ ความผิดศีล ผิดธรรม หรือแม้กระทั่งผิดกฎหมาย ส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้อง บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อบิดามารดา และสังคม แทนที่จะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องกามารมณ์ หรือสิ่งที่พาให้ใจไขว้เขว ฟุ้งซ่าน เพียงเท่านี้ ชีวิตก็จะมีคุณค่า และเป็นแบบอย่างที่ดีของโลก เพราะหากเรามีความรักที่แท้จริงให้แก่กัน เราย่อมมีความสุขุมเพียงพอที่จะเก็บรักษาสิ่งสำคัญนี้ ไว้เพื่อคนสำคัญของเรา ในโอกาสที่ถูกทำนองคลองธรรม และไม่เป็นการทำร้าย หรือทำลายกัน

     วันแห่งความรัก Valentine’s Day แท้จริงแล้วคือวันรักนวลสงวนตัว ตามเจตนารมณ์เดิม ว่าเป็นวันแสดงความรักแก่เพื่อนมนุษย์ แสดงความรัก ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ แต่ในเมื่อยุคสมัยได้บิดเบือนเจตนารมณ์ดั้งเดิมให้กลายเป็นเรื่องของเพศสัมพันธ์ไป เราต้องช่วยกันนำกลับไปสู่จุดดั้งเดิม คือสร้างความเข้าใจ และแบบแผนอันดีงามขึ้นมาใหม่

       แม้แต่การทดลองอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานนั้นก็ไม่ถูกหลักวิชชา เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องของการทดลองทางวิทยาศาสตร์  แสดงให้เห็นว่ายังขาดความเข้าใจว่า ความรักมีเพื่อสิ่งใด ชีวิตคู่ไม่ใช่ของลองเล่น แต่เป็นสิ่งสูงส่ง เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ที่จะให้กายละเอียด ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพื่อสร้างบารมี และยกฐานะของเรา จากคู่รัก เป็นสามีภรรยา เป็นบิดาบารดา เป็นครู เป็นเทวดา กระทั่งเป็นพระพรหม พระอรหันต์ในบ้าน ยกระดับไปตามขั้นตอน อย่างนี้จึงจะถูกหลักวิชชา


  วันวาเลนไทน์ Valentine’s Day  วันแห่งความรัก Valentine’s Day แท้จริงแล้วคือวันรักนวลสงวนตัว
ตาเจตนารมณ์เดิม ว่าเป็นวันแสดงความรักแก่เพื่อนมนุษย์
ความรักทรงกลม เรื่องของความรักดีๆ ในวันวาเลนไทน์นี้ Valentine’s Day

      ความรักเป็นสิ่งที่ทุกผู้ทุกนามพึงมี บางคนรักแต่ตัวเอง รักอย่างนี้เรียกว่า "รักเห็นแก่ตัว" บางคนรักแค่คู่ครอง รักแค่ครอบครัว ก็จัดเป็นความรักแบบ "หางรัก" บางคนรักคนรอบตัวเพิ่มขึ้นไปอีกนิดก็เป็น "รักที่ยังไม่กว้าง" บางคนเลือกที่จะรัก จัดเป็นความรักแบบ "ลำเอียงรัก" ความรักเหล่านี้เป็นความรักแคบๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงเศษแห่งรัก ความรักกว้าง ๆ เป็นอย่างไร เป็นความรักชนิดไหน…

         ทุกคนสามารถเข้าถึงความรักชนิดนี้ได้หรือไม่ อย่างไรรักหลากแบบ บางคนมองความรักไว้เพียงชาติเดียว มุ่งสะสมสมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ ไม่ศึกษาธรรมะของพระพุทธองค์ ทำให้ไม่รู้บุญรู้บาป ไม่รู้ดีรู้ชั่ว ถ้าจะสุขก็สุขเพียงเล็กน้อย สุขได้อย่างเก่งก็แค่ชาติเดียว ชาติต่อไปอาจจะทุกข์อย่างมหันต์ก็ได้ คนรักตัวเอง 2 ชาติคือ ชาตินี้ กับชาติหน้า จึงจัดเป็นบัณฑิตได้ระดับหนึ่ง บุคคลประเภทนี้จะทำความดีเผื่อไว้ชาติหน้า บางคนรักตัวเองทุกชาติ รักที่จะข้ามห่วงแห่งทุกข์เข้าสู่ฝั่งพระนิพพาน จึงจัดเป็นบัณฑิตอย่างยิ่ง บุคคลประเภทนี้จะทำความดีอย่างยิ่งยวด บางคนนอกจากรักตัวเองทุกชาติแล้ว ยังปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายมีสุข พ้นทุกข์ เฉกเช่นเดียวกับตน มีความเมตตากรุณาแก่เหล่าสัตว์โดยทั่วหน้า บุคคลประเภทนี้จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้ นอกจากพระโพธิสัตว์เจ้าเท่านั้น ความรักอย่างนี้จัดเป็นความรักสูงสุด ความรักสูงสุดต้องเป็นความรักที่เท่าเทียม ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ เป็นรักที่ไร้อคติ เป็นความรักกว้างขวางที่แผ่ขยายไปอย่างไม่มีขอบเขต เป็นความรักทรงกลม เป็นความรัก 360 องศา เป็นรักรอบตัว เป็นความรักที่มอบแก่สรรพสัตว์โดยปราศจากความกำหนัดยินดีและแผ่ขยายรอบตัวต่อไปอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังคำของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย ที่ว่า "เหมือนเป็นทรงกลมที่ไม่มีเส้นรอบวง" ความรักชนิดนี้เป็นความรักที่กว้างขวางยิ่งใหญ่ ไม่เป็นความรักที่พุ่งหาเฉพาะใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความรักที่แผ่ขยายรอบตัว เหมือนเป็นพลังมวลแห่งความบริสุทธิ์ที่ขยายกว้างออกไปพร้อม ๆ กันทั้ง 360 องศา ความรักประเภทนี้ผู้เขียนขอเรียกสั้น ๆ ว่า "ความรักทรงกลม"
         ความรักทรงกลม… ความรักทรงกลมนี้เป็นความรักสูงสุด มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ด้วยการทำใจให้หยุดนิ่ง สงบเป็นสมาธิ(Meditation) จนเข้าถึงภาวะแห่งความรักทรงกลม คือ เข้าถึงดวงธรรมภายใน ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 (อยู่กลางตัวเหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ) ยิ่งดวงธรรมแผ่ขยายไปถึงไหน ความรักและความปรารถนาดีอันบริสุทธิ์ก็ไปถึงนั่น เป็นความรักมาตรฐาน รักที่อมตะ เป็นความสุขแท้ทั้งผู้รับและผู้มอบ เป็นความรักที่ท้าทายการเข้าถึง ซึ่งอยู่ในตัวของท่านเอง !   
  
วันวาเลนไทน์ คือ วันแห่งความรักทุกๆคน

ด.ช. หิรัญสกุลศรีขจร ม2/10 เลขที่ 22

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (เมฆ)

เมฆชนิดต่างๆ
เมฆชนิดต่างๆ
เมฆซึ่งเกิดขึ้นในธรรมชาติมี 2 รูปร่างลักษณะคือ เมฆก้อน และเมฆแผ่น

เราเรียกเมฆก้อนว่า “เมฆคิวมูลัส” (Cumulus) และเรียกเมฆแผ่นว่า “เมฆสเตรตัส” (Stratus)
หากเมฆก้อนลอยชิดติดกัน เรานำชื่อทั้งสองมารวมกัน และเรียกว่า “เมฆสเตรโตคิวมูลัส” (Stratocumulus)

ในกรณีที่เป็นเมฆฝน เราจะเพิ่มคำว่า “นิมโบ” หรือ “นิมบัส” ซึ่งแปลว่า “ฝน” เข้าไป
เช่น เราเรียกเมฆก้อนที่มีฝนตกว่า “เมฆคิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus)
และเรียกเมฆแผ่นที่มีฝนตกว่า “เมฆนิมโบสเตรตัส” (Nimbostratus)
cloud
เราแบ่งเมฆออกเป็น 3 ระดับ คือ เมฆชั้นต่ำ เมฆชั้นกลาง และ เมฆชั้นสูง

เมฆชั้นต่ำ (สูงไม่เกิน 2 กิโลเมตร)

เมฆชั้นกลาง (2 - 6 กิโลเมตร)
เราจะเติมคำว่า “อัลโต” ซึ่งแปลว่า “ชั้นกลาง” ไว้ข้างหน้า
เช่น เราเรียกเมฆก้อนชั้นกลางว่า “เมฆอัลโตคิวมูลัส” (Altocumulus)
และเรียกเมฆแผ่นชั้นกลางว่า “เมฆอัลโตสเตรตัส” (Altostratus)

เมฆชั้นสูง (6 กิโลเมตรขึ้นไป)
เราจะเติมคำว่า “เซอโร” ซึ่งแปลว่า “ชั้นสูง” ไว้ข้างหน้า
เช่น เราเรียกเมฆก้อน ชั้นสูงว่า “เมฆเซอโรคิวมูลัส” (Cirrocumulus)
เรียกเมฆแผ่นชั้นสูงว่า “เมฆเซอโรสเตรตัส” (Cirrostratus)

และเรียกเมฆชั้นสูง ที่มีรูปร่างเหมือนขนนกว่า “เมฆเซอรัส” (Cirrus)


1_ผังแสดงการเรียกชื่อเมฆ.jpg
1. เมฆชั้นต่ำ (Low Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับต่ำกว่า 2 กิโลเมตร

เมฆสเตรตัส (Stratus)
เมฆแผ่นบาง ลอยสูงเหนือพื้นไม่มากนัก เช่น ลอยปกคลุมยอดเขามักเกิดขึ้นตอนเช้า
หรือหลังฝนตก บางครั้งลอยต่ำปกคลุมพื้นดิน เราเรียกว่า “หมอก”

เมฆสเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus)
เมฆก้อน ลอยติดกันเป็นแพ ไม่มีรูปทรงที่ชัดเจน มีช่องว่างระหว่างก้อนเพียงเล็กน้อย
มักเกิดขึ้นเวลาที่อากาศไม่ดี และมีสีเทา เนื่องจากลอยอยู่ในเงาของเมฆชั้นบน

เมฆนิมโบสเตรตัส (Nimbostratus)
เมฆแผ่นสีเทา เกิดขึ้นเวลาที่อากาศมีเสถียรภาพ ทำให้เกิดฝนพรำๆ ฝนผ่าน หรือฝนตกแดดออก
ไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าร้องฟ้าผ่า มักปรากฏให้เห็นสายฝนตกลงมาจากฐานเมฆ

2. เมฆชั้นกลาง (Middle Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูง 2 - 6 กิโลเมตร

เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus)
เมฆก้อน สีขาว มีลักษณะคล้ายฝูงแกะ ลอยเป็นแพ มีช่องว่างระหว่างก้อนเล็กน้อย

เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus)
เมฆแผ่นหนา ส่วนมากมักมีสีเทา เนื่องจากบังแสงดวงอาทิตย์ ไม่ให้ลอดผ่าน
และเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้างมาก หรือปกคลุมท้องฟ้าทั้งหมด

3. เมฆชั้นสูง (High Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร

เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus)
เมฆสีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง มีลักษณะเป็นริ้วคลื่นเล็กๆ มักเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าบริเวณกว้าง

เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus)
เมฆแผ่นบาง สีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง โปร่งแสง
บางครั้งหักเหแสง ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด และดวงจันทร์ทรงกลด เป็นรูปวงกลม สีคล้ายรุ้ง

เมฆเซอรัส (Cirrus)
เมฆริ้ว สีขาว รูปร่างคล้ายขนนก เป็นผลึกน้ำแข็ง มักเกิดขึ้นในวันที่มีอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

4. เมฆก่อตัวในแนวตั้ง (Clouds of Vertical Development)

เมฆคิวมูลัส (Cumulus)
เมฆก้อนปุกปุย สีขาวเป็นรูปกะหล่ำ ก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศไม่มีเสถียรภาพ
ฐานเมฆเป็นสีเทาเนื่องจากมีความหนามากพอที่จะบดบังแสง จนทำให้เกิดเงา
มักปรากฏให้เห็นเวลาอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
เมฆก่อตัวในแนวตั้ง พัฒนามาจากเมฆคิวมูลัส มีขนาดใหญ่มากปกคลุมพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด
ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากกระแสลมชั้นบนพัดแรง ก็จะทำให้ยอดเมฆรูปกะหล่ำ
กลายเป็นรูปทั่งตีเหล็ก ต่อยอดออกมาเป็น เมฆเซอโรสเตรตัส หรือเมฆเซอรัส


cloud copy.jpg
“เมฆ” เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการยกตัวของอากาศเท่านั้น
กลไกที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของอากาศ ในแนวดิ่งเช่นนี้ มี 4 กระบวนการ ดังนี้

1. สภาพภูมิประเทศ (terrain)
เมื่อกระแสลมปะทะภูเขา อากาศถูกบังคับให้ลอยสูงขึ้น (เนื่องจากไม่มีทางออกทางอื่น)
จนถึงระดับควบแน่นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ

ดังเราจะเห็นได้ว่า บนยอดเขาสูงมักมีเมฆปกคลุมอยู่ ทำให้บริเวณยอดเขามีความชุ่มชื้นและอุดมไปด้วยป่าไม้

และเมื่อกระแสลมพัดผ่านยอดเขาไป อากาศแห้งที่สูญเสียไอน้ำไป จะจมตัวลงจนมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ภูมิอากาศบริเวณหลังภูเขาจึงเป็นเขตที่แห้งแล้ง เรียกว่า “เขตเงาฝน” (Rain shadow)


1อากาศยกตัวเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ.jpg
1. เมฆ จาก สภาพภูมิประเทศ สภาพ ภูมิประเทศ (terrain)

2. การเกิดเมฆ จากแนวปะทะ ของอากาศ (cold front / warm front)

อากาศร้อนมีความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศเย็น
เมื่ออากาศร้อนปะทะกับอากาศเย็น อากาศร้อนจะเสยขึ้น
และอุณหภูมิลดต่ำลงจนถึงระดับควบแน่น ทำให้เกิดเมฆและฝน
ดังเราจะเคยได้ยินข่าวพยากรณ์อากาศที่ว่า
ลิ่มความกดอากาศสูง (อากาศเย็น) ปะทะกับลิ่มความกดอากาศต่ำ (อากาศร้อน) ทำให้เกิดพายุฝน


2อากาศยกตัวเนื่องจากแนวปะทะอากาศ.jpg
2. เมฆ จากแนวปะทะ ของอากาศ(cold front / warm front)

3. เมฆจาก อากาศบีบตัว (convergence)

เมื่อกระแสลมพัดมาปะทะกัน อากาศจะยกตัวขึ้น
ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงจนเกิดอากาศอิ่มตัว
ไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นหยดน้ำ กลายเป็นเมฆ


3อากาศยกตัวเนื่องจากอากาศบีบตัว.jpg
3. เมฆจาก อากาศบีบตัว (convergence)
4. เมฆ จากการพาความร้อน (thermal)

พื้นผิวของโลกมีความแตกต่างกัน จึงมีการดูดกลืนและคายความร้อนไม่เท่ากัน
จึงมีผลทำให้กลุ่มอากาศที่ลอยอยู่เหนือมัน มีอุณหภูมิแตกต่างกันไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน
(ตัวอย่างเช่น กลุ่มอากาศที่ลอยอยู่เหนือพื้นคอนกรีตจะมีอุณหภูมิสูงกว่ากลุ่มอากาศที่ลอยอยู่เหนือพื้นหญ้า)
กลุ่มอากาศที่มีอุณหภูมิสูงมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศในบริเวณโดยรอบ จึงลอยตัวสูงขึ้น
ดังเราจะเห็นว่า ในวันที่มีอากาศร้อน นกเหยี่ยวสามารถลอยตัวอยู่เฉยๆ โดยไม่ต้องขยับปีกเลย


4อากาศยกตัวเนื่องจากการพาความร้อน.jpg
4. เมฆ จากการพาความร้อน (thermal)
ในการบินร่มร่อน เราจะสนใจ เมฆคิวมูลัส
ที่เกิดจากสถาพถูมิประเทศ(terrain) และการพาความร้อน(thermal)
เนื่องจากมีแรงยกสูง พอที่จะทำให้ร่มลอยขึ้นฟ้าได้
โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์ใดฯ บินเงียบกว่านกอีก
เพราะนกยังต้องกระพือปีก 

แต่ถ้าแรงยกสูงเกินไป ก็อันตรายครับ  
ต้องรีบหลีกออกมาก่อน จะถูกดูดเข้าไปในลมแปรปรวนสูง 

จาก หิรัญ สกุลศรีขจร ม2/10 เลขที่ 22

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (ดวงอาทิตย์)

ดวงอาทิตย์ 
ดาวพุธ 
ดาวศุกร์ 
โลก 
ดาวอังคาร 
ดาวพฤหัสบดี 
ดาวเสาร์ 
ดาวยูเรนัส 
ดาวเนปจูน 

ดวงอาทิตย์ : ดาวฤกษ์ของเรา (THE SUN : OUR STAR)
       ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก  มีตำแหน่งอยู่ที่ตรงมุมหนึ่งของกาแล็กซีของเรา  ซึ่งบางทีอาจจะเป็นตำแหน่งที่ไม่อาจจะมองเห็นจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งดวงใดที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์อื่นก็ได้  การดำรงชีวิตของเราต้องอาศัยดวงอาทิตย์  และเพราะว่าดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กับโลกมากทำให้มีการศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์มากที่สุดอันทำให้รู้จักมันได้ดีกว่าที่รู้จักดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ
ส่วนประกอบ (COMPOSION)
       ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ ์ประเภทดาวแคระเหลือง (yellow dwarf)  ดวงหนึ่งจัดเป็นดาวฤกษ์ขนาดย่อม  แต่เพราะว่ามันอยู่ห่างจากโลกราว  93  ล้านไมล์ ( 150  ล้านกิโลเมตร)  ดวงอาทิตย์จึงเป็นดาวฤกษ์บนฟากฟ้าที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา  ดวงอาทิตย์เป็นลูกกลมดวงใหญ่ที่ประกอบด้วยก๊าซฮีเลียมประมาณร้อยละ  24  ไฮโดรเจนร้อยละ  75  และธาตุอื่น ๆ อีกประมาณร้อยละ  1 ภายในดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียส (nuclear fusion reactions)  ดำเนินอยู่ ส่งผลให้อะตอมของไฮโดรเจนหลอมรวมกันเกิดเป็นอะตอมของฮีเลียมซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าเล็กน้อยและให้พลังงานออกมาด้วย  พลังงานนี้แผ่ผ่านอวกาศมาถึงโลกทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้
ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะทางดาราศาสตร์
อุณหภูมิทีพื้นผิว11000  ํFขนาดที่มองเห็น-26.8
เส้นผ่านศูนย์กลาง849,443 ไมล์ (1,392,530 กิโลเมตร)ขนาดสัมบูรณ์+4.8
ปริมาตรลูกบาศก์เมตรระยะห่างปานกลางจากโลก9,089,000 ไมล์
มวลกิโลกรัมระยะเวลาหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ25 - 30 วัน
การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ (OBSERVING THE SUN)
          ท่านต้องไม่สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าโดยตรง  เนื่องจากอาจทำให้ท่านตาบอดได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่ดุด้วยกล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์เป็นอันขาด ในการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ชนิดพิเศษเท่านั้น  กล้องโทรทรรศน์ชนิดพิเศษเท่านั้น  กล้องโทรทรรศน์ชนิดพิเศษนี้จะติดที่กรองแสงและทำงานโดยการสะท้อนภาพลงบนกระจก  ตัวรับภาพจะเป็นถังขนาด   ใหญ่ปลายใบอยู่ทางด้านล่างของตัวกล้องสำหรับใช้ในการศึกษาการแผ่รังสีที่มาจากใจกลางของดวงอาทิตย์  สำหรับข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างของดวงอาทิตย์จะถูกรวบรวมโดยดาวเทียม  ยานอวกาศ และห้องทดลองที่ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศ
           ถ้าเราดูภูมิประเทศอันเป็นพื้นราบที่อยู่ท่ามกลางแสงแดด  เราจะเห็นว่าแสงแดดสาดส่องทาบทับไปบนทุกสิ่งอย่างสม่ำเสมอกันเราไม่อาจจะมองดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้  เพราะจะเป็นการเสี่ยงมากถึงขนาดที่ทำให้ตาบอดได้  แต่ถ้าเราดูดวงอาทิตย์ด้วยกล้องโทรทัศน์สุริยะ (Solar telescope) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์สำหรับใช้ดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ  เราจะสังเกตเห็นว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เป็นเหมือนกับท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล  เต็มไปด้วยคลื่นมากมายเหลือที่จะนับ  และมีจุดต่าง ๆ ซึ่งเคลื่อนที่ไปมา กับรัศมีอันโชติช่วงเจิดจ้าล้อมรอบดวงอาทิตย์อยุ่ด้วย  1 วง
โครงสร้าง  (STRUCTURE) 
              ดวงอาทิตย์ประกอบขึ้นด้วยมวลก๊าซจำนวนมหาศาลซึ่งทำให้ใจกลาง (core) (1) ซึ่งเป็นส่วนในสุดที่ห้อมล้อมด้วยชั้นที่เย็นกว่าหลายชั้นนั้นร้อนจัดมาก  ที่ใจกลางดังกล่าวมีอุณหภูมิราว 36 ล้านองศาฟาเรนไฮต์   แต่ที่ผิวนอกร้อนเพียง  11,000  องศาเท่านั้น ตรงส่วนบนสุดของใจกลางเป็นเขตการแผ่รังสี ( radiant zone)  (2)  ซึ่งปลดปล่อยรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาภายนอก ถัดไปเป็นเขตการพา(convection zone) (3) ซึ่งเป็นที่ที่มีลำก๊าซมหิมาจำนวนมากผุดพลุ่งขึ้นและยุบลงสลับกัน  ถัดออกมาก็เป็นผิวนอกของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นได้และรู้จักกันในชื่อของโฟโตสเฟียร์ (photosphere) (4) ซึ่งเป็นชั้นบาง ๆ เพียง ชั้นเดียว
             
            บนชั้นโฟโตสเฟียร์นี้ยังมีชั้นบาง ๆ อีก 1 ชั้นเรียกว่า โครโมสเฟียร์ (chromosphere)  ซึ่งหนาประมาณ 1,800 ไมล์ (3,000 กิโลเมตร) ถัดออกมาเป็นชั้นของก๊าซในสภาพเป็นไอออนที่มีความหนาแน่นต่ำและร้อนจัดมากพวยพุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทางไกลซึ่งทำให้เห็นเป็นวงแสงสีรุ้งรอบดวงอาทิตย์เมื่อเกิดสุริยุปราคา  ชั้นของก๊าซนี้เรียกว่ากลดสุริยะ (solar corona)  เป็นชั้นที่ร้อนจัดมากชั้นหนึ่ง ทั้ง  2 ชั้นนี้ถือได้ว่าเป็นชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ (the Sun's atmoshere)
แสงสุริยะ (SOLAR LIGHT) 
              การที่ดวงอาทิตย์มีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ออกมาได้เป็นปริมาณมากมายมหาศาลนั้นเป็นผลมาจากปฏิกิริยาภายในดวงอาทิตย์นั้นเอง รังสีที่แผ่ออกนี้ส่วนหนึ่งมาถึงโลกของเรา รังสีดังกล่าวมีความยามคลื่น  (wavelenght) ต่างกันมาก ตั้งแต่รังสีเอกซเรย์  (X-ray)  ไปจนถึงคลื่นวิทยุ (radio waves) ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ก็เฉพาะแต่ส่วนของรังสีที่อยู่ในรูปของแสงที่มองเห็นได้ (visible light) เท่านั้น แสงดังกล่าวที่สายตาเรามองเห็นเป็นสีขาวนั้นมีรังสีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีความยาวคลื่นต่าง ๆ กันนั่นก็คือมีสี  (color) ต่างกันด้วย
จุดดับในดวงอาทิตย์ (SUNSPORT)
           จุดดับในดวงอาทิตย์เป็นบริเวณของพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่มีสีดำ  ซึ่งมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าพื้นผิวที่อยู่ด้านหลัง  จุดดับดังกล่าวปรากฎให้เห็นเฉพาะบริเวณเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์เท่านั้น  ไม่ปรากฎว่าพบที่บริเวณขั้วทั้งสองของดวงอาทิตย์เลย  จัดดับเหล่านี้แต่ละจุดจะตรงส่วนกลางจะมืดกว่าส่วนอื่น ๆ และที่ขอบจะเป็นเงามืดน้อยกว่าส่วนกลาง  รูปร่างและขนาดของจุดดับเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนไปอย่างมากตลอดเวลา จุดดับอาจจะเกิดขึ้นแล้วหายไปภายในไม่กี่ชั่วโมง  หรืออาจจะคงอยู่ได้เป็นหลาย ๆ เดือนกว่าจะหายไปก็ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของมัน  จุดดับในดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตามการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์มีจำนวนที่ไม่แน่นอน  แต่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงทุกรอบ 11 ปี ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ วัฎจักรสุริยะ (solar cycle)
เปลวสุริยะ] (SOLAR PROMINENCES)
           ชั้นโครโมสเฟียร์ (chromosphere) ของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิราว  180,000  องศา แต่เป็นชั้นที่มีความหนานแน่นไม่มากกนักและไม่ค่อยปลดปล่อยพลังงานใด ๆ ออกมา  ทว่าเป็นชั้นที่มีปรากฎการณ์หนึ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษกล่าวคือ มีเปลวไฟมหิมาแลบขึ้นไปจากพื้นผิวเป็นระยะทางหลายพันไมล์/กิโลเมตร เรียกกันว่าเปลวสุริยะแทรกผ่านชั้นกลดสุริยะ  (solar corona) ออกไปสู่ห้วงอวกาศ ในบางครั้งอาจจะแลบออกไปไกลถึง 610,000 ไมล์ (1 ล้านกิโลเมตร) จากพื้นผิวบนดวงอาทิตย์
การทรงกลดของดวงอาทิตย์ (THE SUN CORONA)
             ส่วนนี้เป็นส่วนบรรยากาศชั้นนอก (outer atmosphere)  ของดวงอาทิตย์เริ่มจากชั้นโครโมสเฟียร์ (chromosphere)  ออกมาในห้วงอวกาศเป็นระยะทางหลายไมล์/กิโลเมตร  ส่วนนี้เป็นส่วนที่แทบจะไม่มีความหนานแน่นเลย      และแม้จะมีอุณหภูมิราวย 1.8 ล้านองศาฟาเรนไฮต์  แต่มีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาน้อยมาก  รูปร่างของเปลวไฟก๊าซที่พวยพุ่งขึ้นไปเรียกว่ากลดสุริยะ  (solar corona)  นี้เปลี่ยนแปรไปตลอดเวลาขึ้นอยู่กับปริมาณของกิจกรรมในแต่ละรอบกิจกรรม (activity cycle) ด้วย  โดยเปลวไฟดังกล่าวจะพวยพุ่งแลบออกไปไกลมากกว่าปกติในรอบกิจกรรมที่เป็๋นจำนวนมากที่สุด 
           กลดสุริยะ (solar corona) สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงที่ดวงอาาทิตย์เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง  (total eclipse)   ซึ่งเป็นเวลาที่เงาของดวงจันทร์ทอดทับกับวงกลมสุริยะ (solar disk)  ได้หมดพอดี  ทำให้แลเห็นได้เฉพาะแต่ชั้นโฟโตสเฟียร์ (photosphere) ของดวงอาทิตย์ที่ล้อมด้วยรัศีที่เป็นแถบกว้างสีค่อนข้างขาว 1 วง    ซึ่งเป็นเปลวไฟที่พลุ่งวูบวาบเป็นสายเล็กและยาวจำนวนมากเท่านั้น นี่คือสิ่งที่เรียกว่า กลด   (corona)   กลดสุริยะปลดปล่อยรังสี  เอกซเรย์และแสงอัลตราไวโอเลต
ลมสุริยะ (SOLAR WIND)
          ลมสุริยะ เป็นคำที่ใช้เรียกการพัดอย่างต่อเนื่องกันของกระแสอนุภาคต่าง ๆ  ที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกสู่อวกาศโดยรอบกระแสดังกล่าวมีมวลเบาบางมากเพียง 4 หรืออ 5 อนุภาคต่อลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น  และเช่นเดียวกันเมื่อมาถึงโลกก็จะรบกวนการโทรคมนาคม และยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์ตื่นตาตื่นใจที่เรียกว่า แสงออโรรา (aurora borealis) ด้วย  นอกจากนั้นลมสุริยะนี้ยังเป็นส่งที่ทำให้เราสามารถแลเห็นหางของดาวหางได้ด้วย


จาก หิรัญ สกุลศรีขจร ม2/10 เลขที่ 22